ถ้าหากคุณกำลังมองหาสุขภาพที่ดี ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน…
ทานมื้อเช้าอย่างราชา ทานมื้อกลางวันอย่างคนธรรมดา ทานมื้อเย็นอย่างยาจก
เบาหวาน โรคที่ไม่เบาตามชื่อ..!!!
สถิติปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก ถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย
โดยเบาหวาน เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ต้องมีการตัดอวัยวะทิ้ง เช่น ตัดนิ้วเท้า ตัดเท้า ตัดขา เนื่องจากเบาหวานจะทำให้เป็นแผลไม่หายติดเชื้อลุกลาม
80 % ของผู้ป่วยเบาหวานจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจาก โรคไตวาย โรคปลายประสาทอักเสบ โรคตาบอดในผู้ใหญ่ และโรคหัวใจและหลอดเลือด
ที่มาของ เบาหวาน
เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮาอร์โมนอันซูลินไม่เพียงพอหรือเกิดจากเซลล์ใช้น้ำตาลไม่ดีพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายระบบหลอดเลือด
โรคเบาหวานนี้เปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ง่ายๆ ค่ะ เปีรียบระบบไหลเวียนเลือดเป็นระบบปั้มน้ำหมุนเวียน “หัวใจเป็นปั้ม” และ “น้ำในระบบก็คือเลือด” ของเรา
โดยปกติแล้วน้ำในระบบก็จะไหลแกติ แต่เมื่อมีการทำให้น้ำในระบบเกิดความข้นเหนียวขึ้น (เปรียบเหมือนกการเติมน้ำตาลลงไปในน้ำ) น้ำในระบบก็จะมีความหนืดขึ้น
ปั้ม (หัวใจ) ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น
ท่อน้ำ (หลอดเลือด) ก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น
ยิ่งมีน้ำตาลในเลือดมาก น้ำในระบบก็ยิ่งเหนียว ยิ่งหนืดขึ้นเรื่อย ๆ จนปั้ม(หัวใจ) เกิดพัง และ ท่อน้ำ (หลอดเลือด) กรอบหรือแตกรั่วออก
ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานก็จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่น่ากลัว
ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตจากการเป็นโรคเบาหวาน แต่เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนมากกว่า
ชนิดของเบาหวาน
เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกตของตับอ่อนที่ไม่สมารถหลั่งอินซูลินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยโรคเบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆ
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดพึ่งพาอินซูลิน ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเข้าไป เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น มักพบในเด็กหรือ ผู้ที่ตับอ่อนเสียหายจากยา หรืออุบัติเหตุ
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน พบมากสุดในสังคมปัจจุบัน โดยจะพบในผู้สูงอายุ ผู้มีน้ำหนักเกิน ผู้ที่มีกรรมพันธู์เบาหวาน และผู้ที่เกิดความเสื่อมในตับอ่อน จากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ต้องรักษาด้วยการกินยาควบคู่กับการควบคุมอาหาร
โรคแทรกซ้อนยอดฮิตจากเบาหวาน
เป็นโรคเบาหวานและเรียกง่ายๆ ว่า ร่างกายเสื่อมผ่อนส่งนั้นเองค่ะ โรคเหล่านี้มักจะเกิดเมื่อเป็น เบาหวาน อย่างน้อย 5 ปี และผู้ป่วยไม่ดูแลรักษาอย่างจริงจัง
- ภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดและเส้นประสาทส่วนปลาย เบาหวาน จะทำให้ เลือดหนืด จนกระทั่งไหลไปเลี้ยงหลอดเลือดเล็กๆ บริเวณปลายมือปลายเท้า ไม่ได้ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึก เกิดอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค แผลก็จะเน่าง่าย และนำไปสู่การตัดขาได้ ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมารรถภาพทางเพศ เพราะ หลอดเลือดเล็กๆ ที่อวัยวะเพศไม่มีเลือดมาเลี้ยง เนื่องจากน้ำตาลสูง
2. ภาวะแทรกซ้อนทางไต ไตมักจะเสื่อมจนเกิดภาวะไตวาย เนื่องด้วยหลอดเลือดเล็ก ๆ ในไตไม่มีเลือดวิ่งไปเลี้ยง เพราะเลือดหนืดเช่นกัน จนทำให้ไตเสียหายจากภายใน ทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ ซึ้งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ
3. ภาวะแทรกซ้อนทางดวงตา เกิดจากการที่น้ำตาลในเลือดที่สูง ทำให้หลอดเลือดเล็กๆในลูกตาเปาะ ฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา อาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
4. โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวานเป็นตัวการเร่งการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกาย และเมื่อหลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง อาจส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจทำให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเป็น กล้ามเนื้อหัวใจตาย ในผู้ป่วยเบาหวานบางราย เนื้อหัวใจมีการบีบตัวน้อยกว่าปกติ อันเนื่องมาจากเส้นเลือดฝอยเล็กๆ ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากเบาหวาน ซึ่งจะทำให้การรักษาได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุดคือ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวาน คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่น มีอาการเจ็บหน้าอกเตือน งั้นผู้ป่วยเบาหวานจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ฉับพลันทันที ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
5. โรคหลอดเลือดสมอง ผู้เป็นเบาหวาน มีอัตราเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบที่สมองได้สูง 2-4 เท่า เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยอาการเบื้องต้นสังเกตได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใด ใบหน้าชาซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมัวไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงว่าเป็นโรคเบาหวาน
- มีอาการหิวบ่อย กินจุ แต่อ่อนเพลีย
- ปัสสาวะบ่อยๆ ตื่นมากลางคืน 2 ครั้ง
- ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 126 mg ต่อเดซิลิตร
- อาการชามือชาเท้า
- สายตาไม่ค่อยดี พร่ามัว หรือเรียกว่าเบาหวานขึ้นตา
- มีแผลง่าย หายยาก
- มีการติดเชื้อง่าย
- น้ำหนักลดมากอย่างไม่มีสาเหตุ
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
จะตรวจเรื่องเบาหวานได้อย่างไร
วิธีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เพียงวิธีเดียวที่ชัดเจนคือ “การเจาะหาน้ำตาลในเลือด”
สำหรับคนปกติแนะนำให้คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีควรจะเจาะเลือดทุกปี ถ้าหากปกติก็ให้ต่อทุก 3 ปี หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ก็ควรที่เจาะเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น
เมื่อเป็นเบาหวานต้องทำอย่างไร
เป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวาน คือ ควบคมน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ ซึ่งจะทำให้ผลดีหลายประการคือ
- สามารถลดโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน
- ลดอาการเนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง ตามัว น้ำหนักลด หิวบ่อย เพลีย ช่องคลอดอักเสบ
- ลดโรคแทรกซ้อน ตา ไต ประสาทอักเสบ
- ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็งตัว เช่น ทำให้ไขมันในเลือดใกล้เคียงปกติ